วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2560

หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต






>< ความหมายของอินเทอร์เน็ต ><

อินเทอร์เน็ต (Internet) ย่อมาจากคำว่า  “International network” หรือ Inter connection Network ซึ่งหมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์จำนวนมากจากทุกมุมโลกเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน



การที่มีระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่จำกัดระยะทาง  ส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ  ทั้งข้อความตัวหนังสือ ภาพ และ เสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนับเป็นอภิระบบเครือข่ายที่ยิ่งใหญ่มาก มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเชื่อมต่อกับระบบ ทำให้คนในโลกทุกชาติทุกภาษาสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยไม่ต้องเดินทางไป โลกทั้งโลกเปรียบเสมือนเป็นบ้านหนึ่งที่ทุกคนในบ้านสามารถพูดคุยกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย แต่เกิดประโยชน์ต่อสังคมโลกปัจจุบันมาก

>< พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต ><



     ปี ค.ศ. 1969 หน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency : ARPA ) ของกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกาได้สนับสนุนงานวิจัยเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยในช่วงแรกรู้จักกันในนามของเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูง หรือ อาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ระหว่างสถาบันการศึกษา 4 แห่ง ได้แก่  
  • มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแอนเจลิส  
  • สถาบันวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด  
  • มหาวิทยาลัยยูทาห์ 
  • มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา
โดยมีคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิดที่เชื่อมต่อกันในเครือข่ายและมีระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกันแต่สามารถสื่อสารข้อมูลกันได้
อาร์พาเน็ตแบ่งออกเป็น 2 เครือข่าย คือ เครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูง(ARPAnet)และเครือข่ายของกองทัพ(MILNET)โดยในช่วงต้นนั้นเครือข่ายทั้งสองเป็นเครือข่ายหลักที่สำคัญในทวีปอเมริกาเหนือ ต่อมาหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจำนวนมากเล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการเชื่อมต่อกับเครือข่าย อาร์พาเน็ต จึงมีการนำเครือข่ายของหน่วยงานเชื่อมต่อกับเครือข่ายอาร์พาเน็ต และทำให้เกิดการขยายเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ จนกระทั่งในปี ค.ศ.1984 เครือข่ายนี้ถูกเรียกว่า อินเทอร์เน็ต (Internet) และมีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น เช่น
          
ในปี ค.ศ.  1983  ได้มีการนำ  TCP/IP Protocol หรือ Transmission Control Protocol  มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเป็นครั้งแรก  จนกระทั่งได้กลายเป็นมาตรฐานในการติดต่อในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน ในปี ค.ศ.  1986 มีการกำหนดชื่อโดเมน (Domain name System) เพื่อสร้างฐานข้อมูลในแต่ละเครือข่ายและใช้ ISP (Internet Service Provider)ในการจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ทั่วโลกล้วนแต่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างกว้างขวางและทั่วถึงกว่าเดิม



>< อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ><


ปี พ.ศ. 2530 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ได้เชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยและสถาบันไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย โดยเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและเป็นการเชื่อมต่อแบบชั่วคราว
ปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 5 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกิดเป็นเครือข่าย เรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร" โดยสำนักวิทยบริการ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9,500 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัทยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2536 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำให้เครือข่ายมีความสามารถในการส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น ซึ่งมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับเครือข่ายไทยสารอีกหลายแห่ง เครือข่ายไทยสารจึงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
     พ.ศ. 2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้ร่วมมือกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่บุคคล ในรูปแบบของบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ เรียกว่า ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP) ที่ทำหน้าที่ให้บริการเชื่อมต่อสายสัญญาณจากแหล่งต่าง ๆ ของผู้ใช้บริการ เช่น จากที่บ้าน สำนักงาน สถานบริการ และแหล่งอื่น ๆ เพื่อเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ออกไปนอกประเทศได้
 

>< องค์ประกอบสำหรับการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต ><

การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต สิ่งที่จำเป็นในการเชื่อมต่อ มีดังนี้
    1) เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในการส่งและรับข้อมูล
    2
) หมายเลขโทรศัพท์และสายโทรศัพท์
สำหรับเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูลข่าวสาร โดยผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์เพียง 3 บาทต่อครั้งของการเชื่อมต่อ
    3) โมเด็ม เป็นอุปกรณ์สำหรับแปลงสัญญาณข้อมูลของคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digital)ให้เป็นสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อก(analog)และเมื่อเป็นผู้ส่งจะแปลงสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อกให้เป็นดิจิทัล
    4) บริการชุดอินเทอร์เน็ตจากผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เช่น ทีโอที กสท โทรคมนาคม ทีทีแอนด์ที 3BB เป็นต้น
    5) เว็บบราวเซอร์ เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการดึงข้อมูลมาจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจัดเก็บอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า HTML (Hyper Text Markup Language) และแปลความหมายของรูปแบบข้อมูลที่ได้กำหนดเอาไว้เพื่อนำเสนอแก่ผู้ใช้

>< การทำงานของอินเทอร์เน็ต ><

เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกันหรือใช้กฎและข้อตกลงเดียวกัน ซึ่งก็คือ โพรโทคอล (
protocol) ในการควบคุมรูปแบบข้อมูลและการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โพโทคอลที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต คือ Transmission Control Protocol/ Internet Protocol หรือมีชื่อย่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP)
  
หมายเลขไอพี(IP Address)ย่อมาจากคำเต็มว่า Internet Protocol Address คือ หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP ทำให้เราสามารถระบุตำแหน่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ซึ่งหมายเลขแต่ละเครื่องจะไม่ซ้ำกัน ถ้าเปรียบเทียบก็คือ บ้านเลขที่ของเรานั่นเอง

เลขที่อยู่ไอพีที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันตามมาตรฐานของโพรโทคอลไอพี รุ่นที่4(IP4)จะใช้ตัวเลขฐานสองจำนวน 32 บิต แต่เพื่อง่ายในการเขียนและจดจำ จึงกำหนดให้จัดเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 8 บิต แล้วเขียนเป็นเลขฐานสิบเรียงกัน (นั่นคือแต่ละกลุ่มของเลขฐานสอง 8 บิต จะถูกแทนด้วยเลขฐานสิบ ในช่วงตั้งแต่ 0 ถึง 255)โดยคั่นแต่ละกลุ่มด้วยเครื่องหมายจุด เช่น 202.142.220.223



เนื่องจากหมายเลขไอพีจดจำได้ยาก จึงได้เกิดการตั้งชื่อที่เป็นตัวอักษรขึ้นมาแทนหมายเลข
ไอพี เพื่อช่วยในการจดจำเรียกว่า ดีเอ็นเอส(
DNS:Domain Name Server)ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อ และโดเมน เช่น


โดเมนมีมาตรฐานใช้ร่วมกันสำหรับหน่วยงานและประเทศต่าง ๆ ดังนี้

     1.โดเมนระดับบนสุด นอกจากจะมีการกำหนดชื่อย่อแทนประเทศแล้ว(เช่น th แทน
ประเทศไทย cn แทนประเทศจีน หรือ in แทนประเทศอินเดีย) ยังมีการกำหนดชื่อย่อระดับบนสุดในลักษณะประเภทของหน่วยงานด้วย เช่น



ตัวอย่างโดเมนระดับบนสุดในลักษณะประเภทของหน่วยงาน

ชื่อโดเมนระดับบนสุด
ความหมาย
com (company)
บริษัท ห้างร้าน หรือหน่วยงานเอกชน
edu (education)
สถาบันการศึกษา
gov (government)
หน่วยงานของรัฐบาล
th (thailand)
ประเทศไทย
net (network)
ผู้ให้บริการเครือข่าย
mil (Military)
หน่วยงานทางทหาร

org (organization)
หน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไ
หมายเหตุ สำหรับ gov และ mil นั้น ใช้สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น

 2.โดเมนระดับที่สอง ใช้ในประเทศ ซึ่งจะบอกถึงประเภทของหน่วยงานหรือองค์กร
ตัวอย่างโดเมนระดับที่สองที่ใช้ในประเทศไทย
ชื่อโดเมนระดับที่สอง
ความหมาย
โดเมน
or (organization)
องค์กรที่ไม่หวังผลกำไร
Nectec.or.th
ac (academic)
สถาบันการศึกษา
Nmt.ac.th
go (government)
หน่วยงานของรัฐบาล
rd.go.th
co (company)
บริษัท ห้างร้าน หรือหน่วยงานเอกชน
Google.co.th
net (network)
ผู้ให้บริการเครือข่าย
Ksc.net
in (individual)
ส่วนบุคคล
Amazon.in
mi (military)
หน่วยงานทางทหาร
Navy.mi.th

 3. โดเมนระดับที่สาม  โดยทั่วไปจะเป็นชื่อย่อของหน่วยงาน

การกำหนดเลขที่อยู่ไอพีและชื่อโดเมนให้กับแต่ละหน่วยงานนั้น จะมีองค์กรระหว่างประเทศคือ   ไอแคนน์ (Internet Corporation for Assigned Names and Numbers : ICANN) ซึ่งเป็นองค์กรที่จัดการและกำหนดให้มีองค์กรย่อยทำหน้าที่ในระดับประเทศ สำหรับประเทศไทยมีมูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (Thai Network information Center foundation: THNiC) เป็นผู้ทำหน้าที่ดังกล่าว
การเข้าถึงหรือใช้งานบริการบนอินเทอร์เน็ตนั้นโดยทั่วไปกระทำผ่านเว็บบราวเซอร์ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่อ่านเอกสารมาแสดงบนจอภาพ เว็บบราวเซอร์ทำงานโดยใช้โพโทคอลเอชทีทีพี (Hypertext Transport Protocol : HTTP) เพื่อติดต่อขอข้อมูลจากเครื่องบริการเว็บ แล้วแสดงข้อมูลตามูปแบบรหัสของภาษาเอชทีเอ็มแอล (Hypertext Markup Language : HTML) ที่ได้จากเครื่องบริการเว็บ ตัวอย่างเว็บบราวเซอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น Mozilla Firefox, Microsoft edge, Google Chrome, Apple Safari, Opera


ภาพแสดง เว็บบราวเซอร์

1. บริการข้อมูลข่าวสารและความรู้ต่าง ๆ
2. อีเมล (e-mail) หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail)


             ผู้ใช้งานสามารถรับส่งข้อความหรือไฟล์ข้อมูลต่าง ๆเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับบุคคลอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็ว เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง เป็นต้น


ชื่อบัญชีผู้ใช้อีเมล หรือ E-mail address จะประกอบด้วย 3 ส่วน คือ  ชื่อผู้ใช้ (Username และชื่อโดเมน (Domain name) ของเครื่องบริการเมล และคั่นด้วยเครื่องหมาย @ (แอท)


        ชื่อบัญชีผู้ใช้อีเมลที่กำหนดขึ้นในขั้นตอนการสร้าง จะต้องไม่ซ้ำกับชื่อที่มีอยู่แล้วในชื่อโดเมนเดียวกัน การตั้งชื่อควรใช้คำที่มีความหมายสุภาพ และควรให้สั้น กะทัดรัด เพื่อให้สามารถจดจำได้ง่าย          

รูปแบบการใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน มีดังนี้

1) เว็บเมล (Web Mail) เช่น www.hotmail.com, www.gmail.com เป็นต้น


2) พ๊อปเมล (POP Mail) เช่น Microsoft Outlook. Windows Mail, Netscape Mail เป็นต้น


3. บริการบล็อก และไมโครบล็อก
บล็อก blog) เป็นคำย่อมาจาก เว็บล็อก (web log) เป็นเว็บที่ให้บริการเก็บบันทึก (log) หรือข้อมูลรูปแบบต่างๆ ในลักษณะคล้ายกับการสมุดบันทึกประจำวัน โดยผู้สามารถบันทึกข้อความ รูปภาพ หรือสื่อประสมต่างๆ ไว้ได้ โดยทั่วไปจะแสดงแบบเรียงลำดับวันเวลาแบบใหม่ล่าสุด ให้ผู้อื่นเข้ามาก่อน และอ่านแสดงความคิดเห็น กลุ่มความสนใจเคียงข้างกัน บล็อก เช่น Blogger,  Googleblog

ไมโครบล็อก (microblog) เป็นบริการที่คล้ายกับบล็อก เพียงแตกต่างกันที่ปริมาณข้อมูลเก็บไว้และแจกจ่ายไปให้ผู้อื่นอ่าน จะมีขนาดสั้นๆ อาจเป็นไฟล์รูปภาพ หรือสื่อผสมมีขนาดใหญ่นัก  ปัจจุบัน
ไมโครบล็อกที่นิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นการส่งข่าวให้กับบุคคล  หรือกลุ่มบุคคลอย่างรวดเร็ว ไม่เสียเวลาของผู้อ่านมากนัก ทำให้มีการรับรู้ข่าวสารของบุคคลอื่นได้มากข้น ไมโครบล็อก เช่น twitter , yammer, jaiku
ตัวอย่าง เว็บล็อก


4. บริการรับฝากไฟล์และข้อมูล  เป็นบริการที่ให้ผู้ใช้บริการสามารถแบ่งปันไฟล์และข้อมูลให้ผู้อื่นได้ โดยผู้ฝากไฟล์และข้อมูลจะต้องทำการลงทะเบียนก่อนการใช้บริการ  เว็บไซต์ให้บริการรับฝากไฟล์และข้อมูล เช่น www.skydrive.live.com , www.4share.com , www.rapidshare.comwww.youtube.com เป็นต้น
ตัวอย่าง บริการรับฝากไฟล์และข้อมูล


5. บริการค้นหาข้อมูล เป็นบริการสำหรับสืบค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ค้นหาข้อมูล (search site) ซึ่งเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลแบ่งเป็น ประเภทตามลักษณะการทำงาน ดังนี้
    1.) เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือหรือโปรแกรมการค้นหา (search engine) เป็นเว็บไซต์ที่ผู้ใช้สามารถหาข้อมูลได้โดยการระบุคำสำคัญ (keyword) เพื่อค้นหาข้อมูลด้วยโปรแกรมการค้นหา  ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะตรงหรือใกล้เคียงกับคำสำคัญที่สุด ตัวอย่างเว็บไซต์บริการค้นหาข้อมูล เช่น www.google.com, www.altavista.com, www.wolframalpha.com, www.bing.comwww.search.com เป็นต้น

   2.)  เว็บไซต์ที่มีการจัดข้อมูลตามหมวดหมู่ (web directories) เป็นเว็บไซต์ที่มีการรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต โดยแต่ละเว็บไซต์จะถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่ที่เหมาะสม ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีการจัดข้อมูลตามหมวดหมู่ เช่น www.sanook.comwww.yahoo.com เป็นต้น


ตัวอย่าง บริการค้นหาข้อมูล (Search Engine)


           6. บริการ การส่งข้อความทันที (Instant Messaging :IM) หรือ แชท (chat) เป็นบริการส่งข้อความให้กับคู่สนทนาการบริการส่งข้อความทันทีและแชทในปัจจุบันได้พัฒนาให้สามารถส่งไฟล์ รูปภาพ เสียง วีดิทัศน์ และยังสามารถแสดงภาพในเวลาจริงของคู่สนทนาได้ ถ้าหากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานมีกล้องเว็บแคมติดตั้งอยู่ โปรแกรมแชท เช่น Windows Live Messenger , Empathy, Adium, Yahoo Messenger, ICQ 



ตัวอย่าง บริการส่งข้อความทันที หรือแชท


7. การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล (File Transfer protocol: FTP) เป็นระบบที่ทำให้ผู้ใช้สามารถรับส่งไฟล์ ข้อมูลระหว่างกัน โดยมีเครื่องบริการที่เก็บไฟล์ข้อมูลต่างๆ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไฟล์ข้อมูลมาใช้ประโยชน์หรือสามารถส่งไฟล์ไปไว้ในเครื่องบริการได้ โปรแกรมโอนย้ายไฟล์ข้อมูล เช่น FileZilla,  CuteFTP
บริการโอนย้ายไฟล์ข้อมูล



8. เว็บบอร์ด (web board) เป็นบริการที่ผู้ใช้สามารถฝากข้อความแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็น โดย มีการจัดกลุ่มความสนใจเป็นหัวข้อในประเด็นต่างๆ โดยบางเว็บบอร์ดจะมีการแบ่งเป็นกลุ่มความสนใจย่อยๆ เช่น www.p  antip.com หรือ www.pantown.com แต่บางเว็บบอร์ดอาจแบ่งตามกลุ่มความสนใจเฉพาะด้าน เช่น www.freemac.net ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของกลุ่มผู้สนใจใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทแอปเปิล www.thaigaming.com เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มผู้สนใจการเล่นเกม

            9. อีคอมเมิร์ซ (electronic commerce : e-commerce) หรือการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นบริการในการทำธุรกรรมซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยใช้เว็บไซต์เป็นสื่อในการนำเสนอและเป็นช่องทางให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าและบริการ ลูกค้าสามารถชำระค่าบริการโดยใช้บัตรเครดิตผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ อีคอมเมิร์ซช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ขาย ทำให้ไม่ต้องจัดตั้งร้านค้าและลดค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้า อีคอมเมิร์ซช่วยให้ผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อสินค้าได้อย่างรวดเร็ว และในบางเว็บไซต์ยังมีการให้ข้อมูลด้านความคิดเห็นของผู้ที่เคยซื้อสินค้าไปแล้วเพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อแก่ผู้ที่เคยซื้อสินค้าไปแล้ว เพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อแก่ผู้ซื้อรายใหม่ อีคอมเมิร์ซ เช่น www.amazon.com, www.ebay.com

            10. บริการวิทยุและโทรทัศน์ออนไลน์ การบริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์ออนไลน์เป็นบริการที่ให้ผู้ใช้สามารถฟังวิทยุและรายการโทรทัศน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถเลือกสถานนีที่ต้องการรับฟังหรือรับชมได้อย่างสะดวก สามารถเลือกรายการที่ต้องการได้โดยไม่จำเป็นต้องรับฟังหรือรับชมตามเวลาที่ออกอากาศ เว็บไซต์วิทยุออนไลน์ เช่น www.curadio.chula.ac.th, www.radio.in.th, www.becteroradio.com, www.virginradio.com และเว็บไซต์โทรทัศน์ออนไลน์ เช่น   www.mecot.net/tv , http://tv.trueid.net/live เป็นต้น







แหล่งอ้างอิง : หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้น ม.2


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น