ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง
โดยแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้กับงานทั่วไป หรือซอฟต์แวร์สำเร็จ (Package)
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน
1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้กับงานทั่วไป หรือซอฟต์แวร์สำเร็จ (Package) เป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น
และจัดจำหน่ายเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ทันที
โดยไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นใช้เอง ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป
ได้แก่
1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processing software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร เช่น รายงาน จดหมายเวียน หนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ สามารถแก้ไขเพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์และจัดเก็บไฟล์ สามารถ แก้ไขและพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ได้ ซอฟต์แวร์ประมวลคำที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น Microsoft Word เป็นต้น
2) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ วิเคราะห์ตัวเลขเพื่อใช้งานในด้านการเงิน บัญชี สถิติ คณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ ซอฟต์แวร์ตารางทำงานประกอบด้วยตารางขนาดใหญ่สำหรับใส่ตัวเลข ข้อความ สูตรการคำนวณ ซึ่งมีเครื่องคำนวณเตรียมไว้สำเร็จ สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้สามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น Microsoft Excel, OpenOffice Calcในโปรแกรมชุด Pladao Office เป็นต้น
3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (Database Management Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้ ปรับปรุง และค้นคืน ข้อมูลได้ง่าย ทั้งยังสามารถ สร้างรายงานหรือสรุปผลข้อมูลได้หลายรูปแบบ ซอฟต์แวร์นี้จะมีการจัดเก็บทั้งค่าข้อมูล พร้อมโครงสร้างข้อมูล เพื่อช่วยลดความซ้ำซ้อน และความขัดแย้งของข้อมูลตลอดจนช่วยให้ผู้ใช้งานได้รับความสะดวกและใช้ข้อมูลร่วมกันได้ ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เช่น OpenOfflin.org Base, Microsoft Access, MySQL, Oracle เป็นต้น
4) ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการนำเสนอ ช่วยให้การนำเสนอทำได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว และมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ซอฟต์แวร์นำเสนอสามารถสร้างสไลด์ที่ประกอบด้วย ตัวอักษร รูปภาพ กราฟ แผนภูมิ ตารางภาพเคลื่อนไหว และเสียง สามารถตกแต่งและนำเสนอสไลด์ด้วยรูปแบบต่างๆ เช่น การใส่และตกแต่งพื้นหลังของสไลด์ ตกแต่งตัวอักษรและเลือกรูปแบบการแสดงตัวอักษรและสไลด์ ซอฟต์แวร์นำเสนอที่นิยมใช้ เช่น OpenOfflice Impress, Microsoft PowerPoint , Pladao Office เป็นต้น5) ซอฟต์แวร์การใช้งานบนเว็บไซต์และการติดต่อสื่อสาร (web site and Communication Software) จากการเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้มีผู้พัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้งานเฉพาะอย่างเพิ่มมากขึ้น มีทั้งการตรวจเช็คอีเมล เข้าเว็บไซต์ การจัดการและดูแลเว็บไซต์ ส่งข้อความติดต่อสื่อสาร รวมไปถึงการประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย ตัวอย่างซอฟต์แวร์การใช้งานเว็บไซต์และการติดต่อสื่อสาร เช่น Windows Live Messenger , Microsoft Outlook , Microsoft Netmeeting, Skype, Line ใช้ในการสนทนาผ่านเครือข่าย Mozilla Firefox, Google chrome ใช้ในการเข้าถึงข้อมูล, Thunderbird ใช้ในการรับส่งอีเมล์, FileZilla ใช้ในการโอนย้ายไฟล์ข้อมูล
6) ซอฟต์แวร์ด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย (Graphics and Multimedia Software) เป็นกลุ่มซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับจัดการงานทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย มีความสามารถเสมือนเป็นผู้ช่วยในการออกแบบชิ้นงานเกี่ยวกับการตกแต่งภาพ วาดภาพ ปรับเสียง ตัดต่อภาพเคลื่อนไหว รวมถึงการสร้างและออกแบบพัฒนาเว็บไซต์ ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย เช่น GIMP, Paint, Adobe Photoshop, Adobe InDesign, Adobe illustrator, Corel Draw, LiveSwif, Adobe Flash, 3D MAX, Windows Movie Maker, Macromedia Dreamweaver เป็นต้น
โปรแกรม Adobe Photoshop
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน (Application Software for Specific purpose) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานขององค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยเฉพาะ ออกแบบและสร้างขึ้นโดยผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่มีความชำนาญงานในด้านนั้น หรือพัฒนาโดยบุคลากรฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรนี้ก็ได้ โดยผ่านการวิเคราะห์ ออกแบบ ลงมือสร้าง และทดสอบโปรแกรมให้สามารถทำงานได้ถูกต้องก่อน จึงจะสามารถนำมาใช้งานได้ เช่น โปรแกรมคำนวณภาษีของกรมศุลกากร โปรแกรมบันทึกเวลาการปฏิบัติงานของพนักงาน โปรแกรมเงินเดือน โปรแกรมฝากถอนเงินของธนาคาร ซึ่งต้องมีการออกแบบโครงสร้างของซอฟต์แวร์เพื่อให้ใช้งานได้ตามความต้องการ
1) ซอฟต์แวร์สำหรับงานธุรกิจ (business software) การประยุุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำหรับงานธุรกิจมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์ใช้โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างได้ เช่น กิจการธนาคาร มีการฝาก-ถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้ามีงานการขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ สำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย ซอฟต์แวร์สำหรับงานธุรกิจมักจะเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น แล้วจึงจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนทำงานร่วมกัน ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานสินค้าคงคลัง ระบบงานบริหารการเงิน เป็นต้น
ตัวอย่างโปรแกรมบริหารสินค้าคงคลัง
ตัวอย่างโปรแกรมเงินเดือน
นอกจากนี้ยังมีซอฟต์แวร์เฉพาะงานด้านการศึกษาที่ช่วยเสริมการเรียนรู้ในสาขาต่างๆ เช่น Thai Geometer’s Sketchpad (ThaiGSP), Mathlab, Scilab
ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงานอีกประเภทหนึ่ง คือ ซอฟต์แวร์เกม ซึ่งเป็นที่นิยมกันทั่วโลกทั้งในกลุ่มของเด็กและผู้ใหญ่ รูปแบบของซอฟต์แวร์เกมมีอยู่หลากหลาย บางชนิดก็มีทั้งความเหมาะสมและไม่เหมาะสมที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรมีส่วนร่วมในการการเลือกใช้ซอฟต์แวร์เกมให้เหมาะสมกับวัย
การเลือกใช้ซอฟต์แวร์
Thai Geometer’s Sketchpad (ThaiGSP)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงานอีกประเภทหนึ่ง คือ ซอฟต์แวร์เกม ซึ่งเป็นที่นิยมกันทั่วโลกทั้งในกลุ่มของเด็กและผู้ใหญ่ รูปแบบของซอฟต์แวร์เกมมีอยู่หลากหลาย บางชนิดก็มีทั้งความเหมาะสมและไม่เหมาะสมที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรมีส่วนร่วมในการการเลือกใช้ซอฟต์แวร์เกมให้เหมาะสมกับวัย
เกม ROV / เกม SIMCITY BUILDIT
การเลือกใช้ซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์มีหลายประเภทด้วยกัน ดังนั้นการเลือกใช้ซอฟต์แวร์จึงต้องพิจารณาให้เหมาะสม
ข้อควรพิจารณาในการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ เช่น
1. การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน ต้องพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ในการนำซอฟต์แวร์ไปใช้งาน เพื่อตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด
2. การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับทรัพยากร ควรพิจารณาคุณลักษณะขั้นต่ำของคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นต้องมี เช่น ความเร็วของซีพียู ความจุของแรม ความละเอียดของการ์ดแสดงผล เพื่อให้สามารถประมวลผลซอฟต์แวร์นั้นได้
3. การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงบประมาณ หากมีงบประมาณไม่เพียงพอ อาจเลือกใช้ซอฟต์แวร์ที่ราคาต่ำกว่าหรือไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน
4. การเลือกใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีผู้ผลิตซอฟต์แวร์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ถ้าต้องใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ต้องจัดซื้อให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ซอฟต์แวร์แต่ละประเภทจะมีการปรับปรุงรุ่นของซอฟต์แวร์ให้เป็นปัจจุบันเสมอ โดยมีการปรับปรุงในหลาย ๆ ด้าน เช่น การเพิ่มฟังก์ชันหรือความสามารถใหม่ การปรับปรุงส่วนติดต่อกับผู้ใช้ การแก้ปัญหาข้อผิดพลาดที่มีในรุ่นก่อนหน้า ดังนั้นผู้ใช้จึงควรพิจารณาว่าสมควรจะปรับปรุงรุ่นของซอฟต์แวร์หรือไม่
โดยพิจารณาจากความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์และความต้องการนำไปใช้งานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ข้อควรพิจารณาในการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ เช่น
1. การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน ต้องพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ในการนำซอฟต์แวร์ไปใช้งาน เพื่อตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด
2. การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับทรัพยากร ควรพิจารณาคุณลักษณะขั้นต่ำของคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นต้องมี เช่น ความเร็วของซีพียู ความจุของแรม ความละเอียดของการ์ดแสดงผล เพื่อให้สามารถประมวลผลซอฟต์แวร์นั้นได้
3. การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงบประมาณ หากมีงบประมาณไม่เพียงพอ อาจเลือกใช้ซอฟต์แวร์ที่ราคาต่ำกว่าหรือไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน
4. การเลือกใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีผู้ผลิตซอฟต์แวร์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ถ้าต้องใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ต้องจัดซื้อให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ซอฟต์แวร์แต่ละประเภทจะมีการปรับปรุงรุ่นของซอฟต์แวร์ให้เป็นปัจจุบันเสมอ โดยมีการปรับปรุงในหลาย ๆ ด้าน เช่น การเพิ่มฟังก์ชันหรือความสามารถใหม่ การปรับปรุงส่วนติดต่อกับผู้ใช้ การแก้ปัญหาข้อผิดพลาดที่มีในรุ่นก่อนหน้า ดังนั้นผู้ใช้จึงควรพิจารณาว่าสมควรจะปรับปรุงรุ่นของซอฟต์แวร์หรือไม่
โดยพิจารณาจากความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์และความต้องการนำไปใช้งานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การเลือกใช้ซอฟต์แวร์
การเลือกใช้ซอฟต์แวร์